messager
 
เทศบาลตำบลทุ่งหว้า call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
Thung Wa Subdistrict Municipality


ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
check_circle สำนักปลัดเทศบาล
การแจ้งเกิด
เจ้าบ้าน คือ คนที่เป็นหัวหน้าครอบครองในบ้านหลังนั้น ซึ่งการครอบครองนี้อาจจะครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของบ้านผู้เช่าบ้าน หรือฐานะอื่นก็ได้ คนที่เป็นเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คนที่ดูแลบ้าน หรือที่อยู่ในบ้านขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน หน้าที่ของเจ้าบ้าน กฎหมายทะเบียนราษฎร ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในเรื่องต่อไปนี้ คือ • มีคนเกิดในบ้าน • มีคนตายในบ้าน • มีคนย้ายออก – ย้ายเข้ามาในบ้านหลังนั้น • มีการปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอนบ้าน หากไม่แจ้งจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย คนที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน โดยปกติแล้วเมื่อมีการแจ้งต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็จะตรวจสอบดูว่าคนไปแจ้งนั้นเป็นเจ้าบ้านหรือไม่ โดยดูจาก • บัตรประจำตัวของคนแจ้งพร้อมทะเบียนบ้านที่นำไปแสดงว่าคนที่ไปแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านและ ช่องรายการระบุว่าเป็น "เจ้าบ้าน" หรือไม่ • ถ้าไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 ก็ตรวจดูว่าคนที่ไปแจ้งมีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็จะมีการบันทึกปากคำไว้เป็นหลักฐานถึงสาเหตุที่ไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน กรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเป็นผู้เยาว์หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ทำหน้าที่แทน • แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านว่างไม่มีใครมีชื่อในทะเบียนบ้าน หากคนที่ครอบครองดูแลบ้านอยู่ขณะนั้นไปแจ้ง นายทะเบียนก็จะบันทึกปากคำไว้และดำเนินการรับแจ้งไว้เช่นกัน การมอบหมาย กรณีคนมีชื่อรายการในทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นเจ้าบ้านไม่ได้ไปแจ้งด้วยตนเอง หรือไม่ได้ให้คนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกับคนแจ้งแต่มอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งแทน ก็จะต้องให้ผู้ที่ได้รับมอบ นำเอกสารดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วยคือ • บัตรประจำตัวหรือสำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านผู้มอบหมาย ถ้าเป็นสำเนาผู้มอบหมายจะต้องเซ็นรับรองสำเนาไว้ด้วย • บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี ) การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา ( หรือผู้ได้รับมอบหมาย ) แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด การแจ้งเกิด ผู้แจ้งเกิด ควรดำเนินการดังนี้ • ให้แจ้งชื่อตัวของเด็กเกิดใหม่ พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก • แจ้งวัน, เดือน, ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล, สัญชาติ และที่อยู่ของบิดาและมารดาของเด็ก • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิด ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง ( กรณีผู้แจ้งมิใช่บิดา- มารดา) หลักฐานที่นำไปแสดง • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน, บิดา, มารดา หรือผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้าน • หนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาล ( ท.ร. 1/1 ) การแจ้งเกิดเกินกำหนด กรณีคนเกิด แต่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งตาย
การแจ้งตาย แจ้งเมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งของท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาพบศพ แจ้งเมื่อมีคนตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่คนตายหรือผู้พบศพแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ การแจ้งตาย ควรดำเนินการดังนี้ • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ตาย ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่นำไปแสดง • แจ้งวัน, เดือน, ปี และสถานที่ตายพร้อมสาเหตุการตาย ถ้ามรหนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย และถ้าทราบชื่อ- สกุล ของบิดา, มารดาของผู้ตายให้แจ้งต่อนายทะเบียนด้วย • แจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับศพของผู้ตายด้วย จะเก็บ, ฝัง, เผา, ทำลาย หรือย้ายศพ ที่ไหน, เมื่อไร • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง หลักฐานที่นำไปแสดง • สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย ( ถ้ามี ) • หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล ( ท.ร. 4/1 ) การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา หมายถึง กรณีมีคนตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ที่มีการตายหรือพบศพ โดยดำเนินการดังนี้ • เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง แล้วดำเนินการเปรียบเทียบคดีตามความผิดที่กฎหมายกำหนด • สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคล เพื่อให้ทราบถึงวัน, เดือน, ปีที่ตาย, สถานที่ตายและผู้เห็นเหตุการณ์ ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการตาย ภายในเวลาที่กำหนด • รวบรวมหลักฐานและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จะสั่งอนุญาตให้รับแจ้งเพื่อดำเนินการต่อไป • ผู้ใดไม่มาแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายที่อยู่
การแจ้งย้ายที่อยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ มีกรณีต่างๆ ดังนี้ การย้ายออก เมื่อผู้อยู่ในบ้านออกจากบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออกไปโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม การย้ายเข้า เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ทั้งนี้ให้นำหลักฐานการย้ายออกไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วยโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม การแจ้งย้ายปลายทาง การแจ้งย้ายปลายทาง เป็นกรณีนอกเหนือจากข้อ 1 ข้อ 2 ซึ่งผู้ย้ายที่อยู่จะเป็นผู้แจ้งการย้ายออกและย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เข้าไปอยู่ใหม่แสดงต่อนายทะเบียนเจ้าบ้าน ต้องไปเซ็นต์ยินยอมให้ย้ายเข้าต่อหน้านายทะเบียนพร้อมนำหลักฐานถือบัตรประจำตัวประชาชนไปด้วย และเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเกี่ยวกับการย้ายที่อยู่ การย้ายออก นำหลักฐานต่อไปนี้ไปแสดง • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน • บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน • บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน(กรณีการมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน) • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี) การย้ายเข้า นำหลักฐานต่อไปนี้ไปแสดง • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน • บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน • บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี) หมายเหตุ ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ตอนที่ 1 และตอนที่ 2) กรณีใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญก่อนนำไปย้ายเข้า ผู้ย้ายเข้าสามารถขอใบแทนได้ที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ โดยยื่นคำร้องพร้อมสำเนาการแจ้งความประกอบเรื่องหรือนำใบแจ้งย้ายที่อยู่ซึ่งชำรุดไปแสดง การแจ้งย้ายออก – ย้ายเข้าเกินกำหนด เมื่อมีคนในบ้านย้ายออก – ย้ายเข้า เจ้าบ้านไม่แจ้งย้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก – ย้ายเข้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขอเลขหมายประจำบ้าน
การขอเลขหมายประจำบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขหมายประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ บ้านที่จะขอบ้านเลขที่จะต้องมีลักษณะเป็นบ้านสามารถอยู่อาศัยได้ หลักฐานประกอบการขอเลขหมายประจำบ้าน • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอเลขบ้าน และผู้แจ้ง • ใบอนุญาตปลูกสร้าง (ถ้ามี) • หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (ถ้ามี) พร้อมสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานแสดงว่าเป็นเจ้าของที่ดิน • บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนในฐานะผู้มอบหมายกรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน (หากเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือรับรองบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย) • แบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี)

× เทศบาลตำบลทุ่งหว้า